top of page

อาการ “ปั๊มติ๊กน้ำมัน” เสียดูอย่างไร

  • รูปภาพนักเขียน: sandpaman sand
    sandpaman sand
  • 28 ก.พ. 2560
  • ยาว 1 นาที

comscore isg /isg Cxense script begin Cxense script end

StartFragmentอาการ “ปั๊มติ๊กน้ำมัน” เสียดูอย่างไรEndFragment

StartFragment

“ปั๊มติ๊ก” เป็นระบบน้ำมันของเชื้อเพลิงใช้ตัดต่อกระแสไฟฟ้าเพื่อป้อนให้กับขดรวดแม่ เหล็กไฟฟ้า ทำให้แผ่นไดอะแฟรมขยับ ทำงานเชื่อมต่อเข้ากับชุดลิ้นปิด-เปิด จึงมีแรงดันและแรงดูด สูบ-จ่าย น้ำมันเชื้อเพลิง แต่เครื่องยนต์ปัจจุบันที่ใช้ระบบหัวฉีดมีความต้องการแรงดันที่สูงขึ้น จึงเปลี่ยนมาเป็นระบบปั๊มติ๊กไฟฟ้าโดยมีทั้งแบบ เรกกูเรเตอร์ (อยู่ในถังน้ำมัน) และแบบใช้ ECU เป็นตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้ามี 40-50 psi

อาการ “ปั๊มติ๊ก” เสียส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้รถโดยเฉพาะการปล่อยให้ไฟสัญญาณเตือน น้ำมันหมดแสดงเป็นประจำ ซึ่งเป็นตัวทำลายให้ปั๊มติ๊กเสื่อมสภาพเร็ว เพราะปั๊มติ๊กเป็นชิ้นส่วนที่ต้องการน้ำมันมาหล่อเลี้ยงเพื่อป้องกันความ ร้อน และหากรถคุณจอดทิ้งไว้นานๆ ไม่ค่อยได้ขับแนะนำให้เติมน้ำมัน “เบนซิน” ที่ไม่มีส่วนผสมของเอทานอลจะดีกว่า

อาการ “ปั๊มติ๊ก” เสื่อมสภาพ

1. ไม่มีเสียงดัง ติ๊กๆ ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ (รถรุ่นเก่า) 2. รถสตาร์ทไม่ติด (เช็กแบตเตอรี่เต็ม ไดร์สตาร์ทดัง ฟิวส์ไม่ขาด) 3. สตาร์ทรถแล้วเครื่องยนต์กระตุก หรือเร่งไม่ขึ้น 4. เครื่องยนต์สะดุด ขณะขับรถที่ความเร็วคงที่ 5. รถติดแก๊ส สตาร์ทน้ำมันไม่ติด สตาร์ทแก๊สติด

StartFragment

วิธีรักษา “ปั๊มติ๊ก” ไม่ให้เสื่อมเร็ว

1. ไม่ปล่อยให้ไฟระบบแสดงน้ำมันแจ้งเตือนบ่อย 2. เติมน้ำมันให้เกือบครึ่งถังอยู่เสมอ 3. รถติดแก๊ส หมั่นใช้ระบบน้ำมันบ่อยๆ

หากรถคุณแสดงอาการดังที่กล่าวมาแนะนำว่าให้เข้าไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทาง ด้านนี้ก่อนนะครับ เพราะระบบเชื้อเพลิงนั้นมีความสำคัญกับรถมากไม่แพ้ส่วนอื่นเลย หากไม่ชำนาญพอแก้ไขเองอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย

CR: SILKSPAN

EndFragment

EndFragment


 
 
 

Comentarios


Featured Posts
กรุณากลับมาใหม่ภายหลัง
หลังจากที่โพสต์เผยแพร่แล้ว คุณจะเห็นข้อมูลที่นี่
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
contact us

Contact us for a free estimate.

  • w-facebook
  • Twitter Clean
  • google+

​© 2023 by Moving Company. Proudly created with Wix.com

Success! Message received.

bottom of page